Line ID: @tshirtfact.com | Tel: 089 688 5753 | E-Mail: tshirtfact@gmail.com

การพิมพ์ผ้า

ขั้นตอน การพิมพ์ เสื้อยืด เสื้อโปโล

การพิมพ์ผ้า สามารถพิมพ์ได้ทั้งบน เสื้อยืด และ เสื้อโปโล

การพิมพ์ แบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 ประเภท ดังนี้

1. สีน้ำ

สกรีนเสื้อแบบสีจม
คุณสมบัติของสีสกรีนประเภทนี้  เนื้อสีจะมีความละเอียดสามารถซึมลงไปถึงเส้นใยของผ้า และเนื้อสีจะมี ความโปร่งใสเมื่อนำไปสกรีนลงบนเสื้อยืดลวดลายสกรีนจะให้ผิวสัมผัสที่เรียบจนแทบเป็นเนื้อเดียวกับเสื้อ ด้วยเหตุที่เนื้อสีมีความโปร่งจึงนิยมนำไปใช้ในงานสกรีนบนเสื้อสีอ่อน

สกรีนเสื้อแบบสีลอย
คุณสมบัติของสีลอยคือ   เนื้อสีจะมีความละเอียดน้อยกว่าสีจม ทำให้เนื้อสีเกาะติดอยู่บนเส้นใยของผ้า เมื่อสกรีนลงเสื้อผิวสัมผัสจะให้ความรู้สึกถึงลวดลายที่มีความหนาขึ้นมาจากเนื้อผ้า  และเมื่อลองดึงหรือยืด ลายสกรีนจะสัเกตุเห็นถึงเนื้อสีที่แยกออกจากกันจับอยู่บนผิวของเนื้อผ้าและเนื่องจากเนื้อสีของสีประเภทนี้ จะมีความทึบแสงจึงเหมาะที่จะนำไปสกรีนลงบนเสื้อสีเข้มหรือนำไปสกรีนรองพื้นสีขาวบนเสื้อสีเข้ม แล้วจึงสกรีนทับด้วยสีจม

 

 

2. สียาง ( Rubber Print )

การพิมพ์สียางเป็นการพิมพ์แป้งพิมพ์ชนิด waterbase  ลงไปบนผ้า ซึ่งสียางสามารถพิมพ์ลงไปบนผ้าได้เกือบทุกเส้นใย

 

3. สี plastisal ( Plastisol Print )

สามารถพิมพ์ลวดลายที่ต้องการเก็บรายละเอียดมาก ๆ ได้ และสามารถพิมพ์ลวดลายภาพเหมือนจริง (Halftone) ลงบนผ้าสีเข้มหรือสีดำได้เลยทันที โดยไม่ต้องรองพื้นก่อน มีความสามารถในการยึดติดกับชิ้นงานได้มากชนิด ตลอดจนถึงสามารถสร้างงานพิมพ์ที่หลากหลายแปลกตาแตกต่างไปจากสีพิมพ์ผ้าสูตรน้ำ

 

4. พิมพ์ transfer

4.1.การพิมพ์งาน transfer  เป็นแบบการพิมพ์สีพิมพ์ลงไปบนกระดาษ

แล้วก็จะมีการพิมพ์กาวทับลงไปบนสีพิมพ์เพื่อที่จะได้มีการยึดเกาะลงไปบนผ้า ได้   โดยเทคนิคในการพิมพ์งานประเภทนี้จะมีอยู่หลายแบบดังนี้คือ
– การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์กึ่งอัตโนมัติ   โดยพิมพ์สีพิมพ์ผ่านบล็อกสกรีนแล้วก็จะมีการพิมพ์กาวทับลงไปอีกครั้ง   โดยในการพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์ได้เฉพาะงานพิมพ์ที่ไม่มีความละเอียดมากนัก เช่น   การพิมพ์ป้ายไซด์ สำหรับการรีดติดคอเสื้อซึ่งจะไม่มีรายละเอียดมากในส่วนของลวดลาย
– การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์ offset  ซึ่งจะมีการพิมพ์ที่ละเอียดกว่าการพิมพ์แบบสกรีน  แต่จะเหมาะสมการพิมพ์แบบ ภาพเสมือน   เพราะในการพิมพ์จะพิมพ์แบบพิมพ์  4 สี  โดยในการพิมพ์แบบนี้จะใช้เครื่องพิมพ์ ที่มีหัวพิมพ์  4 หัวพิมพ์โดยจะใช้เพลทในการพิมพ์ซึ่งจะใหค่าความละเอียดของลายพิมพ์มากกว่าการพิมพ์งานแบบสกรีน  แต่จะไม่เหมาะกับการพิมพ์แบบสีตายเช่นการพิมพ์ป้ายไซด์

 

4.2.การพิมพ์งาน transfer ที่ใช้สีพิมพ์ disperse  หรือ  เรียกอีกอย่างว่าการพิมพ์แบบ  sublimation

ในการพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์ได้กับเส้นใยที่เป็นโพลีเอสเตอร์และไนล่อน    และจะต้องรีดงานที่อุณหภูมิ  200 – 210 องศาเซลเซียสซึ่งในการพิมพ์นี้จะใช้หลักการทางเคมีของสีในการแทรกซึมเข้าไป ในเส้นใยไม่เหมือนงาน transfer  ที่อาศัยกาวในการยึดเกาะกับเส้นใย   ซึ่งจะมีเทคนิคการพิมพ์ดังนี้
– การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์สกรีนแบบกึ่งอัตโนมัติ   โดยจะพิมพ์สีพิมพ์ลงไปบนกระดาษประเภทกระดาษปอนด์หรืออาร์ตมัน  ขึ้นอยู่กับเทคนิคในแต่ละโรงงาน    โดยในการพิมพ์แบบนี้จะมีการพิมพ์งานที่ได้งานจำนวนไม่มากนักและเหมาะกับลาย พิมพ์ที่ไม่มีความละเอียดของลวดลายมากนัก
– การพิมพ์โดยใช้เครื่อง offset  โดยจะพิมพ์งานที่มีความละเอียดมากๆได้เช่นงานที่เป็นเม็ดสกรีนแต่จะไม่เหมาะ กับการพิมพ์งานที่เป็นสีตาย  และในกระบวนการผลิตจะสามารถพิมพ์งานได้มากกว่าการพิมพ์แบบสกรีน
– การพิมพ์โดยใช้เครื่องพิมพ์แบบ  inkjet  โดยในการพิมพ์แบบนี้จะมีการพิมพ์ที่มีความละเอียดมากแต่จะมีกำลังการผลิตที่ น้อยกว่าการพิมพ์ในแบบข้างต้น    และในการพิมพ์งานแบบนี้จะเหมาะกับการทำงานส่งตัวอย่างลูกค้ามากกว่าการทำแบบ production  และเหมาะที่จะทำงานที่เป็น  order  จำนวนน้อย

 

5. พิมพ์ฟลอยด์ ทอง เงิน ทองแดง สี metallic

เป็นการพิมพ์กาวลงไปบนผ้าตามลวดลายที่กำหนดแล้วนำผ้าที่พิมพ์กาวแล้วไปรีดฟอยล์ โดยใช้เครื่องรีดโดยรีดที่อุณหภูมิ  ประมาณ  140 – 160 องศาเซลเซียส

 

6. พิมพ์ยางนูน

เหมาะสำหรับทั้งเสื้อผ้าสีเข้มและสีอ่อน ตัวสีจะลอยนูนเด่นขึ้นมาจากเนื้อผ้า เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการภาพ 3 มิติ นูนสูง

 

7. พิมพ์กากเพชร

มีกากเพชรเงิน,กากเพชรทอง,กากเพชรรุ้ง,กากสีต่างๆ ใช้พิมพ์หรือโรยลงบนชิ้นงานเพื่อให้เกิดมิติ ระยิบระยับ แวววาวเป็นประกาย

Share this post



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *